วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จงพาชีวิตไปตามการตัดสินใจ

      ทุกครั้งที่ได้ยินคำว่าแม่ หัวใจของเราจะรู้สึกซาบซึ้งอย่างบอกไม่ถูก  ในชาวงที่ปากเอ่ยคำว่า "แม่" ราวกับว่าความเสียสละที่ิยิ่งใหญ่ของแม่ที่มีต่อลูกจะแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายของเรา ในโลกใบนี้จะมีใครเสียสละเทียบเท่าแม่ของเรา
       แม่เป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูลูก หุงหาอาหารให้กิน ความเสียสละของแม่มีมากล้นจนเกินจะพรรณนา ในช่วงเรียนประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย แม่ปลุกเราแต่เช้ามืดด้วยน้ำเสียงเหนื่อยใจ แต่ทว่าแม่กลับไม่เคยให้ลูกนอนดึกกว่า  หรือตื่นเช้ากว่าสักครั้ง  จะมีกี่ครั้งกันที่เราเห็นแม่นอนหลับก่อน ต้องเตรียมค่าเรียนพิเศษไว้ให้ลูกพอดิบพอดีทุกครั้งไป ในวันหนึ่งผมได้เห็นแววตาของแม่ที่คาดหวังในตัวผม...

[แม้ว่าค่านิยมและการดำเนินชีวิต
ในสังคมจะเปลี่ยนไป แต่ความห่วง
ใยของพ่อแม่ที่มีต่อลูก..ไม่เคยเปลี่ยแปลง]      
         
         คนที่ปลอบโยนในยามที่เราเครียดหรือท้อใจ  จะเป็นใครได้ล่ะ  ถ้าไม่ใช่แม่ บางครั้งที่ลูกพลาดพลั้งทำผิด  แม่อาจเผลอเอ็ดเสียงสูง แต่ในใจลึกๆเชื่อมั่นว่าต่อไปลูกจะต้อง "ทำดีได้แน่ๆ" ในวันที่ลูกสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้  แม่เหมือนได้ยกภูเขาลุกใหญ่ออกจากอก ท่านดีใจจนน้ำตาใหล
         แม่เป็นบุคคลที่ช่วยค้ำจุนชีวิตของเรา  ไม่ว่าจะตอนนี้หรือตอนไหน ท่านก็คอยอยู่เคียงข้าง เป็นกำลังใจให้เราเสมอ
          ไ่ม่สิ  ไม่ใช่สิ   ไม่ใช่แบบนั้น...
           ตอนนี้ต้องลืมแม่ไปก่อน
           แม่ของนักเรียนชั้นประถม  มัธยมต้น  มัธยมปลายในสมัยนี้ ทำตัวเจ้ากี้เจ้าการเสียยิ่งกว่าผู้จัดการส่้วนตัวของดารา  คอยจดบันทึกรายการที่ต้องทำในแต่ละวัน โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม พาลูกไปเรียนพิเศษที่นั่นที่นู่น
           แมู่้ผู้ต้องทำงานควบคู่ไปด้วย อาจไม่ได้บงการชีวิตลูกมากขนาดนี้ แต่ถ้ามีเวลาก็พยายามดูแลการเรียนและชีวิตลูกอย่างเต็มที่
           ปัจจุบัน "สัญญาทาส" กลายเป็นปัญหาใหญ่ระหว่างนักร้องกับบริษัทต้นสังกัด ถ้าเปรียบเทียบดูแล้ว ชีวิตของลูกก็ไม่ต่างไปจากทาสเช่นกัน ก่อนจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ เรามีชีวิตอยู่ภายใต้การควบคุมและดูแลของแม่ทุกกระเบียดนิ้ว  โดยทั่วไปเป้าหมายหลักของแม่เกาหลีเกือบทุกคน คือเลี้ยงลูกให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ดีให้ได้  การที่แม่เข้าไปยุ่งและจัดการชีวิตลูกถือว่าเป็นเรื่องปกติ แม้ว่าลูกอาจไม่ชอบใจทั้งหมด แต่ไม่มีใครกล้าลุกขึ้นประท้วง
           ไม่เพียงแค่ประเทศเกาหลีเท่านั้น คุณแม่ทั่วโลกต่างดูแลลูกๆอย่างใกล้ชิด ยกตัวอย่างเช่น ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้บัญญัติคำว่า ซอกเกอร์มัม (Soccer mom) ,ฮอกกี้มัม (Hockey mom), มินิวานมัม (Minivan mom) เพื่อใช้เรียกแม่ที่พยายามจัดการชีวิตของลูกๆนั่นเป็นเพราะการเล่นกีฬาในสนามใหญ่ๆหรือการขับรถคันโตต้องการใช้พลังมหาศาลควบคุม ซาราห์ พาลิน อดีตผู้สมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาก็เคยยอมรับว่าเธอคือฮอกกี้มัม
            นอกจากนี้ยังมีคำว่า เฮลิคอปเตอร์มัม หมายถึงแม่ผู้พยายามวนเวียนอยู่รอบๆลูกตลอดเวลา และมีคำว่าแบล๊กฮอว์กมัม (เฮลิคอปเตอร์ทรงอานุภาพจากภาพยนตร์เรื่องแบล๊กฮอว์กดาวน์ ) หมายถึง คุณแม่ผู้รู้ข้อมูลของลูกอย่างละเอียดแล้วนำไปสั่งการทุกคนที่อยู่รอบตัวลูก
             ถ้าฟังที่แม่สั่ง  ต่อไปจะไม่มีทางเสียใจแน่นอน  พ่อเองก็เห็นด้วยกับแม่...ต้องโทรศัพท์หาวันละครึ่งครั้งนะ   รู้จักคบเพื่อนดีๆล่ะ อย่าเล่นกับเพื่อนคนนั้น  อย่าทำตัวไร้สาระแบบนี้  ตอนที่แม่อายุเท่าลูก ถ้าตั้งใจก็ทำได้นี่น่า  คณะนั้นหางานยากนะ  เข้าคณะแพทย์ดีกว่า  ต้องเรียนภาษาจีน  จะไปเ้ข้าค่ายทำไม ตระกูลของเรารุ่งเรืองทุกรุ่นรู้ไหม ก็ลูกทำแบบนี้  แล้วจะให้แม่วางใจได้ไง  แม่ไปดูที่เรียนพิเศษมาแ้ล้วนะ   ถ้าเรียนที่นี่รับรองว่าสอบเข้ามหาวิทยาลัยดีๆได้แน่  ผู้ชายต้องมีฝันที่ยิ่งใหญ่นะ  ลูกทำได้อยู่แล้ว ทำได้แน่ๆ...

[คุณคือเจ้าของชีวิตที่แท้จริง ชีวิตถูกถักทอขึ้นจากความพึงพอใจ
และความเสียใจ เพื่อให้ความสุขและทุกข์สมดุลกัน คุณจะต้องตัดสิน
ทุกอย่าง "ด้วยตัวเอง"]
             
            ข้อความเหล่านี้ถูกตีพิมพ์ลงในโปสเตอร์การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของนักศึกษาปี ค.ศ.2010 ซึ่งภาควิชาการพัฒนาเด็กและครอบครัว  มหาวิทยาลัยโซล  เป็นผู้จัดประชุมขี้น  หัวข้อการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครั้งนี้คือ "หนุ่มสาวที่ยังไม่โตเป็นหนี้ความรัก : ความคาดหวังของพ่อแม่ที่มีต่อลูกในระดับอุดมศึกษา ความขัดแย้งและอิทธิพลที่ส่งผลโดยตรงต่อลูก"
             งานวิจัยนี้ต้องการสื่อให้เห็นว่า  นักศึกษาควรได้รับการยอมรับในฐานะผู้ใหญ่และมีอิสระทางความคิด  แต่เพราะส่วนใหญ่ยังถูกพ่อแม่บงการชีวิตอยู่ จึงต้องเรียกว่า "หนุ่มสาวที่ยังไม่โต"  ความคาดหวังของพ่อแม่ทำให้หนุ่มสาวที่ยังไม่โตต้องชดใช้ "หนี้ความรัก"  ด้วยการดำเนินชีวิตตามคำสั่งของพวกท่านต่อไป
              แม้จะไม่จัดการประชุมหัวข้อนี้ขึ้น  ทุกคนต่างรู้ดีกว่าชีวิตจริงเป็นอย่างไร แม่มักพูดกับลูกเสมอว่า "ลูกเรียนอย่างเดียวก็พอ ที่เหลือแม่จัดการให้เอง"
              ทั้งที่จริงๆสิ่งที่แม่ควรสอนลูกมากที่สุดคือ ความสามารถทุกอย่าง  ยกเว้นเรื่องการเรียน (การเรียนคือหน้าที่ของคุณครู) แต่กลายเป็นว่า แม่ส่้วนใหญ่ลงมือทำสิ่งเหล่านั้นให้ลูกแทน  พร้อมกับพูดว่า "ทุกอย่างเพื่อลูก"
              ปัญหาืั้ที่ตามมาคือ  หลังจากที่ลูกสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้ว หน้าทีู่้ผู้จัดการส่วนตัวของแม่ก็ยังไม่ยอมจบลงง่ายๆ พวกท่านจะเริ่มเข้ามาจัดการเรื่องสมัครงาน  แต่งงาน  มีลูก ฯลฯ ไม่จบไม่สิ้น  ผมเคยได้รับโทรศัพท์จากพ่อแม่นักศึกษาบ่อยครั้ง อาทิเช่น  ให้ลูกฉันลงเรียนวิชานี้เถอะนะคะ ,ทำไมลูกของฉันได้เกรดเฉลี่ยเท่านี้ล่ะ,ปีนี้ลูกจะเรียนจบแล้ว,ปีหน้าลูกต้องไปเรียนต่อต่างประเทศ หวังว่าอาจารย์จะเมตตาเรื่องเกรดลูกหน่อยนะคะ  เป็นต้น  มีพ่อแม่มากมายที่ยอมยืนต่อแถวเพื่อรับบัตรคิวจากสถาบันกวดวิชาหรืองานสัมมนาด้านต่างๆ บางครั้งถึงขนาดไปขอคำแนะนำจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเตรียมสอบของลูก หรือไม่ก็โทรศัพท์ติดต่อหน่วยงาน เช่น บริษัทหรือกรมทหารโดยตรง

              พ่อแม่รู้ความกังวลใจในอนาคตของลูกดี ไม่เป็นไร  เดี๋ยวพวกเราจัดการให้เอง ลูกแค่ทำตามก็พอ มีภาษิตหนึ่งกล่าวไว้ว่า "ไม่มีพ่อแ่ม่คนไหนเอาชนะลูกได้" แต่สมัยนี้กลับไม่มีลูกคนไหนเอาชนะพ่อแม่ได้ แม้ว่าลูกๆต้องการอิสรภาพมากเพียงใด  แต่เพราะยังต้องขอเงินค่าขนม  ค่าเทอม  ค่าแต่งงาน ฯลฯ จากพ่อแม่อยู่ จึงไม่สามารถหนีไปไหนได้
               พ่อแม่ที่มีการศึกษาสูงหรือประสบความสำเร็จทางสังคมเป็นอย่างดี จะยิ่งบงการชีวิตของลูก เนื่องจากประสบการณ์และความรู้ที่มากกว่า ลูกๆจึงไม่สามารถโต้แย้งได้ คนหนุ่มสาวที่ถูกเลี้ยงดูมาแบบนี้ตั้งแต่เด็ก จึงถูกเรียกว่า  คนรุ่นดาวเทียม (satellite generation) หรือลูกจิงโจ้
               ถึงแม้จะบอกว่าเป็นเรื่องทั่วไำปของมนุษย์  แต่การที่แม่ทุ่มเท "ทั้งชีวิต" เพื่อเฝ้าดูแลและติดตามลูกจนเหมือนเฮลิคอปเตอร์ไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนัก  ในบางเรื่องลูกจำเป็นต้องลืมแม่ให้ได้ก่อน
                       เพราะท้ายที่สุดแล้ว "ชีวิต" ที่แท้จริงของมนุษย์คือ "ทุกสิ่งทุกอย่าง นอกเหนือจากการเรียน"  มันคือสิ่งที่แม่รู้และทำแทนลูกมาโดยตลอด
               อายุของพ่อแม่ในศตวรรษที่ 20 น่าจะอยู่ที่ประมาณกลา่งสี่สิบถึงปลายห้าสิบ และน่าจะเป็นคนที่เกิดในช่วงปี ค.ศ.1950 จนถึงต้นปี ค.ศ.1960 ผมเข้าใจคนในยุคนี้เป็นอย่างดี พ่อแม่ของคุณเกิดและเติบโตในยุคที่แตกต่างกับยุค ค.ศ.2000 โดยสิ้นเชิง
              ในช่วงปี ค.ศ.1960 ชาวเกาหลีมีรายได้ต่อคนไม่ถึง 80 ดอลลาร์  เศรษฐกิจในเวลานั้นแย่ยิ่งกว่าในประเทศโซมาเลียและคองโก สมัยเด็กๆผมจำได้ว่า  ตามทางเดินมีธงชาติเกาหลีโบกสะบัดเพื่อต้อนรับการมาเยือนของประธานาธิบดีประเทศกาบอง โรงยิมชังชุงที่อยู่บริเวณสถานีทงแด ต้องจ้างช่างชาวฟิลิปปินส์มาช่วยสร้าง  เพราะขณะนั้นแรงงานชาวเกาหลียังสร้างตึกที่ทันสมัยแบบนั้นไม่เป็น
                แต่ทว่าตอนนี้รายได้ของชาวเกาหลีต่อคนสูงถึงสองหมื่นดอลลาร์ และเกาหลีกลายเป็นประเทศพัฒนาที่มีอัตราเศรษฐกิจเติบโตสูงเป็นอันดับที่ 11 ของโลก  พวกเราสามารถสร้างตึกที่สร้างยากหรือสูงที่สุดในโลกได้อย่างง่ายดาย  ความแตกต่างระหว่างยุคสมัยของคุณกับพ่อแม่เทียบกันไม่ได้เลย  ราวกับว่ามาจากคนละโลก  โลกที่พ่อแม่คุณอยู่กับโลกที่คุณอยู่ต่างกันมาก สิ่งต่างๆที่พ่อแม่ถูกปลูกฝังมาจึงไม่้สามารถใช้กำหนดอนาคตของคุณได้
                 พวกท่านเกิดและเติบโตในยุคที่ยากจน ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างฉับพลัน  สมัยนั้นเป็นยุคที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จ เป็นยุคที่อาชีพอาจาย์และพนักงานธนาคารมีเกียรติและยอดเยี่ยมที่สุด (ปัจจุบันอาชีพเหล่านี้ก็ยังเป็นอาชีพที่ดีเยี่ยม) ซึ่งแตกต่างกับค่านิยมของหนุ่มสาวสมัยนี้ที่คิดว่า  ความสุขและความพึงพอใจสำคัญที่สุด
                 แม้ว่าค่านิยมและการดำเนินชีวิตในสังคมจะเปลี่ยนไป  แต่ความห่วงใยของพ่อแม่ที่มีต่อลูกไม่เคยเปลี่ยนแปลง  ทุกครั้งที่เฝ้ามองอนาคตของลูก  หัวอกคนเป็นแม่ก็ยิ่งหวั่นไหว  พวกท่านแค่หวังให้ลูกมีงานที่มั่นคง  สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ตลอดชีวิต  ไม่ได้ต้องการให้ลูกประสบความสำเร็จมากที่สุด แต่อยากให้ลูกล้มเหลวน้อยที่สุด อนาคตของลูกที่ถูกพ่อแม่บงการจึงเหมือนกันหมด
                 ประมาณ 7-8 ปีก่อน เคยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มาขอคำปรึกษาจากผม  คุณพ่ออยากให้เขาเรียนต่อด้านกฏหมาย แต่เขาอยากทำงานด้านอื่นดูก่อน เขาไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรดี  ในฐานนะอาจารย์ ผมไม่ลังเลใจเลยที่จะเลือกเข้าข้างนักเรียน ผมให้กำลังใจเขาว่าอย่าทอดทิ้งความฝันของตัวเอง  หลายวันต่อมา คุณพ่อของนักศึกษาคนนี้โทร.มาต่อว่าผมที่ภาค เขาตำหนิว่า ผมเป็นอาจารย์ประสาอะไรถึงให้คำแนะนำแบบนั้นออกไป...มันอาจไม่ใช่การทะเลาะใหญ่โต  แต่ผมรู้สึกแย่มาก  ผมไม่ชอบพฤติกรรมของพ่อแม่ที่พยายามบงการอนาคตของลูกอย่างไม่มีเหตุผล
                    ทุกครั้งที่ผมเห็นหัวข้อข่าว  อัตรานักศึกษาวิชากฏหมายตกงานเพิ่มสูงต่อเนื่องและอัตรานักศึกษที่ลาออกจากคณะนิติศาสตร์เพิ่มขึ้นทุกปี  ผมสงสัยว่าตอนนี้คุณพ่อของเขากำลังคิดอะไรอยู่ แล้วตอนนี้เด็กคนนั้นจะเป็นอย่างไร  ทนายความอาจเป็นอาชีพที่ดี แต่ไม่ได้ดีเยี่ยมที่สุดเหมือนสมัยก่อนแล้ว ถ้าไม่ใช่อาชีพที่ลูกคุณอยากเป็นก็ไม่จำเป็นต้องฝืนใจพวกเขาหรอก
                   
[จงหัดก้าวเดินด้วยเท้าของคุณไปเรื่อยๆ
 ณ เส้นชัย  คุณจะเห็นตัวคุณที่สมบูรณ์แบบ]

                 ถึงแม้แม่จะบอกว่า  สิ่งที่เลือกให้ลูกดีที่สุดแล้ว  แต่คุณก็ควรตัดสินด้วยตัวเอง  เพราะคุณคือเจ้าของชีวิตที่แท้จริง  ชีวิตถูกถักทอขึ้นจากความพึงพอใจและความเสียใจ  เพื่อให้ความสุขและทุกข์สมดุลกัน  คุณจะต้องตัดสินทุกอย่าง "ด้วยตัวเอง"
                    แกนหลักอขงชีวิตคือตัวเราเอง ถ้ารู้ว่าจะต้องแบกสัมาภาระหนักอึ้งไว้บนหลัง  หากสัมภาระเหล่านั้นเป็นของคุณเอง  คุณจะรู้สึกว่าเบา  ในทางตรงข้าม หากมันเป็นสัมภาระของคนอื่น คุณจะรู้สึกว่ามันหนักหนาทั้งที่ยังไม่ได้ลองแบกดู
                     ต้องลืมแม่ไปสักพักก่อน  ต้องชัดเจนในตัวเอง  ตั้งแต่ตอนนี้แม่ของคุณเป็นฝ่ายตรงกันข้าม วางไม้ค้ำที่ชื่อว่าแม่ลงเสีย  หัดเดินด้วยเท้าของตัวเอง  ครั้งแรกอาจรู้สึกไม่มั่นคงและโดดเดี่ยว แต่จงหัดก้าวเดินด้วยเท้าของคุณไปเรื่อยๆ ณ เส้นชัย คุณจะเห็นตัวคุณที่สมบูรณ์แบบ.

ขอบคุณที่มา : หนังสือ เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น