วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรื่องจริงของชีวิต 10 ปี 7 ครั้ง




โกวเล้งเขียนไว้ในนิยายของเขาว่า...
"ชีวิตคนเราจะมีสิบปีสักกี่ครั้งกัน"


ผมชอบประโยคนี้มาก...มันจริงอย่างยิ่ง !

ถ้าคนเราอายุเฉลี่ย 70 ปี
เราก็มี 10 ปี  แค่ 7 ครั้ง

๐ สิบปีแรก..หมดไปกับ  ความไร้เดียงสา

๐ สิบปีต่อมา..หมดไปกับ  การศึกษาเล่าเรียน

๐ สิบปีต่อมา.หมดไปกับ  การทำงานและการใช้ชีวิต

๐ สิบปีต่อมา..หมดไปกับ  การสร้างฐานะ สร้างครอบครัว

๐ สิบปีต่อมา..หมดไปกับ  การลงหลักปักฐานรักษาสิ่งที่สร้างมา

๐ สิบปีต่อมา..หมดไปกับ  การดูแลรักษาสุขภาพ  กาย-ใจให้แข็งแรง

๐ สิบปีสุดท้าย..หมดไปกับ  การปล่อยวางทุกสิ่ง รอคอยการกลับบ้านเก่า

แต่ละสิบปีผ่านไป...ไวเหมือนโกหก
อีกไม่นาน...ปีนี้ก็จะผ่านไป  มีอะไรที่เราทำไปแล้วมากมาย 

และก็ยังมีอะไรอีกมากมายที่เรายังไม่ได้ทำ

** เวลา คือ หน่วยเงินในกำมือของเราที่เอาไปแลกสิ่งอื่น

-เราเอาเวลาไปแลกงาน 
-เราเอางานไปแลกเงิน 

-แต่เราก็ไม่เคยเอาเงินไปแลกเวลาคืนกลับมาได้สักที

ถ้า 'ธนาคารเวลา' มีจริง  เราก็ไม่เคยมีสมุดบัญชีสักเล่มที่จะให้เราดูได้..ว่า 

ตอนนี้เหลือเวลาอยู่เท่าไหร่?

** เรารู้ว่าเราใช้ "สิบปี"  ของเราไปกี่ครั้งแล้ว
แต่เราไม่อาจรู้ว่า...เราจะใช้ "สิบปี" ที่เหลือของเราได้ครบมั้ย?

แต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่ากับเราใช้เวลาสิบปีของเราไปคุ้มค่าหรือเปล่า ?
เมื่อเราหันหลังกลับมา  ขอให้พูดได้เต็มปากว่า  เราใช้มันไปอย่างไม่น่าเสียดาย

   ชี วิ ต ค น เ ร า จ ะ มี
           "สิ บ ปี"
      สั ก กี่ ค รั้ ง กั น

  ใช้สิบปี เจ็ดครั้งของเรา
        ใ ห้ คุ้ ม ค่ า

เครดิต จาก  http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=52996

ขอบคุณสาระดีๆจากพันทิพย์

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประสบการณ์เก็บเงินได้ครบ 1 ล้านบาทเมื่อตอนอายุ 31 ปี

เป้าหมายแรกหลังเรียนจบมหาลัยของผมคือ การเก็บเงินให้ได้ 1,000,000 บาทก่อนอายุ 30 ปี ซึ่งเคยเขียนในบล็อกไปก่อนหน้านี้ว่าผมทำไม่สำเร็จ .. วันเวลาผ่านไป 1 ปีต่อมา ตอนนี้ผมทำสำเร็จแล้วครับ ในวันที่อายุ 31 ปี :)

บล็อกตอนนี้จึงไม่ใช่การโม้ว่าเฮ้ยตรูมีเงินเก็บโว้ย แต่ต้องการจะแชร์ในฐานะเด็กที่เคยไม่มีเงินเก็บติดตัวเลยซักบาทตอนทำงานปีแรก และเริ่มต้นทำงานด้วยเงินเดือนแค่ 12,000 บาท จนมาถึงตอนนี้สามารถเก็บเงินให้ครบ 1 ล้านได้ยังไงครับ (จริงๆ เพื่อนผมหลายคนเก็บเงินได้เยอะกว่านี้มากเลยครับ)

บล็อกเก่า :
ประสบการณ์ทำงานปีแรกด้วยเงินเก็บ 0 บาท
ในวันที่ผมยื่นใบลาออกจากบริษัท Thomson Reuters

ปัญหาสุดคลาสสิคกับการเก็บเงินไม่เคยได้

เท้าความกลับไปตอนทำงานปีแรก ถึงผมจะเงินเดือนแค่ 12,000 บาท แต่ก็พอจะมีเงินเก็บนิดหน่อย แต่อย่างว่าคนเราซักพักมันก็มีเรื่องต้องใช้เงิน เช่นคอมเสีย กลับบ้านต่างจังหวัด ซื้อโทรศัพท์ใหม่ ซึ่งเป็นรายจ่ายชิ้นใหญ่ สุดท้ายเงินที่เก็บก็เหลือศูนย์

ด้วยความที่รักสบายอ่ะ ทำงานเหนื่อยๆ มันก็อยากใช้ตังค์หาความสุข อยากดูหนัง อยากกินของอร่อยๆ อยากไปเที่ยวสนุกๆ บ้าง

ผมไม่ชอบเลยความรู้สึกของการมีเงินอยู่ก้อนนึงในบัญชี แล้วต้องคอยมาดูว่าเหลืออีกกี่วันนะจะสิ้นเดือน แล้วตกลงเดือนนี้เก็บได้กี่บาท ว๊าเหลือน้อยจัง เดือนหน้าต้องอดออมกว่านี้แล้วสินะ

การได้เงินเดือนมา แล้วก็พยายามใช้อย่างประหยัด จนเหลือสิ้นเดือนก็เก็บไว้ มันใช้ไม่ได้ผลครับ คือสำหรับผมนะ มันไม่เวิร์คจริงๆ เพราะซักวันมันก็จะหมดไปกับบางสิ่งบางอย่าง

แล้วทำยังไง ?

ย้อนกลับไปเมื่อตอนผมอายุได้ 8 ขวบ ตอนนั้นจำได้เลยว่าเป็นวันเด็ก ซึ่งพี่น้องผมแต่ละคนก็บอกวันเด็กแล้ว อยากได้นั่นอยากได้นี่ สุดท้ายป๊า (พ่อ) ก็บอกไม่รู้ว่าจะให้อะไรเป็นของขวัญ งั้นเอางี้ละกัน ให้เงินไปคนละ 500 บาท พาไปที่ห้างแล้วบอกว่า อยากซื้ออะไรก็ซื้อเลย แต่ต้องใช้ให้หมดนะ

ใช้ให้หมดนะ ...

ผมจำได้ว่าวันนั้นเป็นหนึ่งในวันที่ผมช็อปปิ้งสนุกที่สุดในชีวิตครั้งหนึ่งเลย เหมือนเราได้ไปวิ่งอยู่ในทุ่งดอกไม้ ลั้นลา กำเงินไว้แน่น ไอ้นี่ก็สวยงาม ไอ้นั่นก็อยากซื้อ "จะใช้แมร่งให้หมดเลยโว้ยยยย" ผมคิดในใจ

และนั่นเลยเป็นวิธีการเก็บเงินของผม ที่เพิ่งมาคิดขึ้นได้ตอนอายุ 24 ปีแล้ว ...

ใช้แมร่งให้หมด

เมื่อผมรู้แล้วว่าผมเหมาะเหลือเกินกับวิธีการเก็บตังค์ด้วยวิธีการ "ใช้แมร่งให้หมด" มันเลยต้องเปลี่ยนวิธีการจัดการกับเงินนิดหน่อย
  • เงินเดือนที่ได้มา สมมุติว่า 30,000 บาท ผมจะหาทางทำยังไงก็ได้ ให้มันเก็บไปแบบที่ผมไม่มีทางเบิกออกมาได้เลย อย่างน้อย 30-40% ในที่นี้คือ 9,000-12,000 บาท
  • เงินอะไรบ้างที่เราเก็บแล้วไม่สามารถเอาออกมาใช้ได้ ? ต้องไม่ใช่ฝากในบัญชีธนาคารแน่นอน
  • อย่างแรกคือซื้อประกันชีวิต กว่าผมจะได้เงินนี้กลับมาก็ปาเข้าไปหลายปีต่อมาแล้ว (เดี๋ยวนี้มีประกันหลายตัวที่เป็นประเภทเก็บเงิน 7-10 ปี)
  • หักเงินเข้า Provident Fund อันนี้ก็เอาออกมาไม่ได้ จนกว่าจะลาออกเท่านั้น ซื้อเต็ม Max เลยครับ
  • หักเงินซื้อหุ้นบริษัท โชคดีที่บริษัทมีขายหุ้นบริษัทด้วย ในราคาพนักงาน ซึ่งเท่าไหร่ผมไม่สน แต่มันหักไปจากเงินเดือนตั้งแต่แรก เพราะฉะนั้นซื้อ Max เลยเช่นกัน
  • ซื้อกองทุน LTF อันนี้กว่าจะได้ใช้เงินก็อีก 5 ปีข้างหน้า หักไปเลยว่าปีนี้ซื้อเท่าไหร่ ก็ทยอยซื้อทุกเดือนได้
  • ยังมีเงินอีกหลายอย่างที่สามารถหักได้แบบ Auto ก่อนที่จะมาถึงบัญชีเงินฝากของคุณ ก่อนที่จะมาถึงบัตร ATM ของคุณ ก่อนที่จะกดเงินออกมาสู่มือของคุณ
  • สุดท้ายจากพนักงานเงินเดือน 30,000 บาท (ตัวเลขสมมุติ) ผมก็กลายเป็นพนักงานเงินเดือน 18,000 บาทแทน
  • ที่เหลือ "ใช้แมร่งให้หมด"
  • ผมใช้หมดจริงๆ นะ คือไม่เหลือเลยซักบาท ถ้าสิ้นเดือนมีเงินเหลือเยอะ ผมไม่เก็บด้วยนะ มีเงินเหลือก็ต้องใช้แมร่งให้หมดสิ ว่าแล้วเราก็เสพสุขให้มันเยอะๆ คือกรูมีเงินเหลืออ่ะ ใช้ไปเลยเต็มที่ ถ้าสิ้นเดือนเหลือน้อย ก็ประหยัดไป มีเงินแค่นี้
  • มันเป็นความสุขที่ประหลาดจริงๆ นะครับกับการที่เรามีเงินซักก้อนนึง แล้วมีคนตะโกนบอกว่า "ใช้ให้หมดนะโว้ยยยยย" โอ้แม่ นี่สิชีวิต ทำงานเหนื่อยมันก็ต้องซื้อความสุขกันบ้าง
  • วิธีนี้เราจะไม่มีสิทธิไปแตะเงินที่ถูกดูดไปตั้งแต่ต้นเดือนเลย
  • แล้วถ้ามีเรื่องต้องใช้เงินจริงๆ จะทำยังไง ? คือด้วยความที่เงินพวกนั้นมันเอาออกมาไม่ได้ ผมก็จะต้องดิ้นรนหาวิธีให้เงินที่เหลือพอจ่ายให้ได้ เช่น ซื้อของแบบผ่อน 0%, ใช้บัตรเครดิตแบบฉลาดๆ หน่อย, ยืมเมียบ้างเป็นบางครั้ง (แต่ทวงยิกนะฮะ)
  • ด้วยวิธีนี้ ผมเลยมีเงินก้อนหนึ่งที่ไม่สามารถใช้ได้เลย จนเวลาผ่านไปอย่างน้อย 10 ปี ซึ่งเวลานั้นก็ได้มาถึงแล้ว
  • ในที่สุดตอนนี้ผมก็มีเงินสดในบัญชี 1 ล้านบาทตามที่เคยตั้งใจเอาไว้แล้วครับ :)
ออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่พนักงานบริษัทขั้นเทพที่มีเงินเดือนหลักแสน และก็ไม่ใช่นักลงทุนที่ทำให้เงินมันงอกเงยแบบที่หลายคนกำลังมุ่งมั่นกันอยู่ ผมแค่เก็บเงินแบบที่ไม่ไปแตะมัน และไม่มีทางแตะมันได้เลย ก็เท่านั้น

วิธีนี้อาจจะดูไม่ฉลาดเท่าไหร่ แต่มันใช้ได้ และต้องใช้เวลาด้วย

อีกประเด็นที่อยากบอกคือผมมีความสุขกับการ "ใช้แมร่งให้หมด" มากๆ เงินเดือนขึ้น ผมใช้เยอะขึ้น แต่ก็เก็บมากขึ้นด้วย ซึ่งมันก็มีความสุขดี และไม่ได้ขัดสนอะไร แค่เปลี่ยนความคิดว่า "เราเงินเดือน 30,000 บาท" มาเป็น "เราเงินเดือน 18,000 บาท"

เงินที่เหลือจากการถูกหักไปแล้วนั้น ผมยังสามารถซื้อ iPhone, MacBook, จัดงานแต่งงาน, พาภรรยาไปฮันนีมูนมัลดีฟส์ได้ โดยที่ก็ยังมีเงินเก็บอยู่นะ คือเงินที่มีผมใช้แมร่งหมดจริงๆ 5555

หวังว่าวิธีการเก็บเงินแบบนี้อาจจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ :)

หมายเหตุ: ย้ำว่าบล็อกตอนนี้ไม่ได้ต้องการโอ้อวด เพราะหลายคนที่อายุเท่าผมเก็บเงินได้ 10 ล้านแล้วก็มี เพียงแต่ต้องการเขียนเพื่อปักหลักไมล์อันหนึ่ง ที่เคยสัญญากับตัวเองไว้ และแชร์ให้ได้อ่านกันครับ

ขอบคุณที่มาจากบล๊อกนี้ที่จะทำให้ผมมีเงินล้านในอีก 10 ปีข้างหน้า 5555

Khajochi Blog

วิธีการและเคล็ดลับการเก็บออม ตอน ๒

วิธีการและเคล็ดลับการเก็บออม

ก่อนจะเข้าสู่บทที่ 4 ซึ่งผมปวดเฮดมากว่าจะเขียนยังไงดี

ชักรู้สึกว่าปูพื้นไม่พอ  ขอแทรกด้วยบทเสริมซักนิด
ที่จริงเนื้อหาต่อไปนี้น่าจะอยู่ในบทที่1 มากกว่า แต่edit ตรงนั้นเด๋วคนไม่รู้อีก เอามาไว้ตรงนี้แล้วกัน

บทเสริมท้ายบทที่ 1
สิ่งสำคัญที่สุดในการบรรลุ financial freedom (FF) ก็คือ การให้พันธะสัญญากับตัวเอง (commitment) ว่า
"หนูทำได้"

ทุก วันนี้  คิดว่าเพื่อน ๆ อยู่ในระดับที่เรียกว่า survival state (อยู่รอดได้) หมายถึง รายได้ (= รายได้จากการทำงาน + รายได้จากเงินออม/ทรัพย์สิน) มากกว่าหรือเท่ากับ ค่าใช้จ่าย
ถ้าวันหนึ่ง เราไม่มีรายได้จากการทำงาน ก็จะเกิดปัญหา

ดังนั้น  เป้าหมายของเราทุกคนคือ wealth state (อยู่ได้อย่างมั่งคั่ง หรือมีอิสรภาพ) นั่นคือ รายได้จากเงินออม/ทรัพย์สิน ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ค่าใช้จ่าย เราจึงจะมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขได้

แผนการของเราในการบรรลุ FF ก็คือทำอย่างไรที่เราจะทำให้รายได้จากทรัพย์สินหรือเงินออม เพิ่มสูงขึ้นจนครอบคลุมค่าใช้จ่ายของเราได้  วิธีการบรรลุอาจจะมีหลายอย่าง (บางคนอาจจะเล่นหวยซื้อสลากกินแบ่ง, หาสามี/ภรรยารวย ๆ, รอมรดกตกทอด ฯลฯ) แต่วิธีหนึ่งที่น่าจะง่ายที่สุดและสามารถใช้ได้กับเพื่อน ๆ ส่วนใหญ่ น่าจะเป็นดังนี้
  1. เก็บออม (saving)
  2. ประกันความเสี่ยง (hedging)
  3. ให้ทรัพย์สินที่เราเก็บออม ไปทำงานแทนเรา (investing)
และหัวใจสำคัญของบันไดสามขั้นนี้ จะสำเร็จได้ต้องเข้าใจหลัก 3 ข้อต่อไปนี้ก่อน

  1. มองภาพใหญ่ ว่าจุดหมายเราคืออะไร อยู่ที่ไหน
  2. มองภาพตามความเป็นจริง ไม่ใช่มองแต่โลกในแง่ดี (be realistic, not optimistic)
  3. เลือกหรือปรับเปลี่ยนวิธีการลงทุน ตามความเหมาะสมของเราเอง วิธีแต่ละคนอาจจะเหมือนกัน หรือแตกต่างกันขึ้นกับความรู้ ความเข้าใจ และ lifestyle ของเพื่อน ๆ แต่ละคน

เริ่มบันไดขั้นแรกก่อนเลยคือ "การออม"

สิ่งสำคัญของบันไดขั้นแรกมี 2 อย่าง ได้แก่ วินัย และ เวลา

1. วินัยในการออม 

หมายถึงเราต้อง commit ตัวเองว่าในแต่ละเดือนที่มีเงินเดือนเข้าบัญชีมา เราจะต้องออมเงินเป็นจำนวนเท่าใด ที่ผ่านมาคนมักจะเข้าใจสมการการออมเงินแบบนี้

เงินออม = รายได้ - ค่าใช้จ่าย

แต่การสร้างวินัยในการออม ขอให้เปลี่ยนสมการใหม่เป็นแบบนี้

รายได้ - เงินออม = ค่าใช้จ่าย

ดูเผิน ๆ แล้ว หลายคนคงคิดว่ามันก็เหมือนกันแหละว้า... แต่ทัศนคติของสมการนี้แตกต่างกันอย่างชัดเจน สมการแรกมองเงินออมเป็น "ส่วนเหลือจากเงินที่ใช้จ่ายไปแล้ว" แต่สมการที่สองมองเงินออมเป็น "ส่วนที่ต้องกันไว้ก่อนจะนำไปใช้จ่าย" เป็นวินัยในการออมเงิน

จะออมซักเท่าไหร่ - ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่นรายได้ต่อเดือน, เป้าหมายของ FF และระยะเวลาตั้งต้นจนถึงเกษียณ (หรือมี FF) โดยทั่วไปสำหรับคนที่มีรายได้เฉลี่ย 2 หมื่นบาทต่อเดือน ควรจะออมให้ได้อย่างน้อย 10% ของรายได้ เมื่อมีรายได้สูงขึ้น ในขณะที่ค่าใช้จ่ายพอ ๆ เดิม สัดส่วนของเงินออมควรจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับคนที่มีรายได้สูง ๆ (เช่น 6 หลัก) ก็อาจจะมีสัดส่วนเงินออมถึง 50% ของรายได้ หรือมากกว่า

บางคนอาจจะคิดว่า เป็นไปได้ยังไง แม้ว่าเราจะมีรายได้มาก (เกินแสน) แต่กลับยังไม่มีเงินออมได้มากขนาดนั้น อันนี้จุดใหญ่ก็อยู่ตรงสมการที่ 2 ว่า ถ้าเราเอารายได้หักเงินออมแล้ว ปรากฏว่า เงินที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายมันไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่จ่ายอยู่ประจำทุก เดือน ก็ต้องลองมาแจกแจงในรายละเอียดว่า ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเรา จริง ๆ แล้วมันเป็นรายจ่ายที่ "ต้องจ่าย/ควรจ่าย" กับ "ไม่จำเป็นต้องจ่าย" ในสัดส่วนซักเท่าไหร่?

ค่าใช้จ่ายในของบางอย่างที่เราอาจจะนึกไม่ถึงหลาย ๆ อย่าง ถ้าแจกแจงดูอาจจะมีไม่น้อยทีเดียว

เราจำเป็นต้องเที่ยวกลางคืนหรือไม่
เราจำเป็นต้องกินข้าวนอกบ้าน ในภัตตาคาร สวนอาหาร เดือนนึงหลาย ๆ ครั้งหรือไม่
เราจำเป็นต้องซื้อเสื้อผ้าราคาแพง และซื้อบ่อยขนาดนี้หรือเปล่า ทั้ง ๆ ที่เสื้อผ้าในตู้ก็ล้นหาที่เก็บแทบไม่ได้
เรามีรองเท้ากี่คู่ และมีกี่คู่ที่เราไม่ได้ใส่มาแล้ว 3 เดือน
เราจำเป็นต้องดื่มกาแฟ Starbucks หรือ Blue cup หรือเปล่า
เรามี laptop อยู่แล้ว จำเป็นต้องซื้อใหม่หรือเปล่า
เราจำเป็นต้องมีมือถือใหม่เป็น iPhone หรือไม่

บลา บลา บลา...

ที่ ยกตัวอย่างมานี่ ไม่ได้หมายความว่าเราซื้อหาสินค้าและบริการเหล่านั้นไม่ได้ เพียงแต่เป็นการยกให้ดูว่า ก่อนจะซื้อหาของอะไรเหล่านี้ ถามตัวเองนิดว่ามันจำเป็นหรือไม่ (ว่ากันง่าย ๆ ว่า ถ้าไม่มีมันแล้วเราอยู่ได้ไหม) และมีของอะไรที่ทดแทนกันได้ในราคาที่ถูกกว่าหรือเปล่า


2. เวลาในการออม เวลาสำคัญไฉน ? 
ให้กลับไปอ่านเรื่อง "อิทธิฤทธิ์  ดอกเบี้ยทบต้น" (compound interest) ในบทที่  3 ตุ่ม C

บทที่4 : ซองเงินลงทุน = ให้เงินทำงานแทนคุณ

ภาค 1

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า บทนี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการหางานพิเศษ หรือ ลงทุนค้าขาย เปิดท้ายขายของอะไรเลย......เพราะบทนี้เราจะว่าด้วยเรื่องการลงทุน ชนิดให้เงินทำงานแทนเราเท่านั้น......

Concept ของซองนี้คือ
"เรา ไม่เชื่อว่า Working Hard จะเปลี่ยนชีวิตเราได้ แต่เราเชื่อว่า Working Smart (ทำงานอย่างฉลาด)ต่างหากที่จะพาเราไปสู่อิสรภาพทางการเงิน"

คุณ Robert Kiyosaki เขียนไว้ในหนังสือพ่อรวยสอนลูกว่า เขามีพ่อสองคน

พ่อจนสอนเขาว่า "เรียนให้เก่งๆนะลูก จบมาจะได้มีงานดีๆทำ ได้เงินเดือนสูงๆ"
พ่อเขาคนนี้ไม่ผิด แต่พ่อคนนี้คือพ่อที่จนตลอดชีวิต

ส่วนพ่ออีกคนนึงซึ่งเป็นมหาเศรษฐีสอนเขาว่า
"ทำไม หนูต้องเก่งที่สุด ฉลาดที่สุดด้วยล่ะลูก ในเมื่อมีคนเก่งกว่าหนูอีกมากมายที่พร้อมจะ เอาตัวเข้าแลกเงินเป็นกรรมกรชั้นสูงดีๆนี่เอง หนูก็แค่จ้างคนที่เก่งกว่าหนู ฉลาดกว่าหนูมาทำงานให้หนู จ่ายเงินเดือนให้เขาแค่จิ๊บจ๊อย แล้วเขาจะผลิตเงินให้เราเป็นล้านๆ"

ใช่ครับ คนส่วนใหญ่ในสังคมเรา ยังเชื่อเหมือน "พ่อจน" อยู่
แต่ มันไม่ผิดนะ ที่เราจะเรียนสูงๆ เพียงแต่เราต้องเป็น "อภิชาตบุตร" ที่รู้มากกว่าพ่อแม่เราในเรื่องนี้นีสนุง รุ่นลูกหลานจะไม่ให้พัฒนาเลยเรอะ

ต่างกันยังไงเหรอ ?? ผมสมมุติตัวอย่างอย่างนี้แล้วกัน

ปีนี้ราคายางพาราแพง คนปลูกยางน่าจะรวยอื้อซ่า ผมอยากได้เงินจากยางพาราบ้าง ผมจะทำอย่างไรดีระหว่าง
ก. ถ้าผมทำตามพ่อจน ทุ่มเททำงานหนัก เพื่อเงิน ผมก็จะไปหาซื้อที่ดิน หาซื้อต้นยางมาปลูก กางตำราว่าเขาปลูกกันยังไง ใส่ปุ๋ยยังไง? ทำมั่วๆซั่วๆ โดนเพลี้ยกินต้นกล้าไปบ้าง ปลูกแล้วพังกรีดยางไม่ได้มั่ง ซัก สามสี่ปี กว่าจะจับทางได้ เหนื่อยยากทั้งกาย ทั้งเวลา ทั้งเงินทุน เอ้า ทำถูกแล้ว งอกงามแล้ว ยังไม่ได้เงินคืน ทำไมน่ะเหรอ ต้องรออีก 7 ปี กว่ามันจะโตพอให้กรีดยางมาขายได้ไงล่ะ............

ข. แต่ถ้าผมเชื่อพ่อรวย ผมเนี่ยนะ จะปลูกยาง?? ความรู้ก็ไม่มี ความสามารถก็ไม่มี ทำมั้ยทำไมผมต้องออกแรงเองให้เหนื่อย? ทำม้ายไฮโซอย่างผมต้องลงไปปลูกยางเอง ในเมื่อมีบริษัทศรีตรังเอโกร เขาปลูกยางเก่งกว่าผมอยู่แล้ว มีที่ดิน มีต้นยางอยู่แล้ว มีโรงงานสกัดน้ำยางอยู่แล้ว มีลูกค้าโรงงานในเมืองจีนสั่งยางเขาไปทำยางรถยนต์อยู่ในมือแล้ว ผมซื่งไม่มีความรู้อะไรเรื่องกรีดยางเลย ก็เดินต๊อกแต๊ก ไปตลาดหุ้น ขอเปิดบัญชีเล่นหุ้น เสร็จแล้วก็เคาะซื้อหุ้นของบริษัทปลูกยางจ้าวนี้ ในราคาหุ้นละ 3 บาทเป็นจำนวน 10000 หุ้น รวมเงิน 30000 บาท
บริษัทเค้าได้เงินเราไปลงทุนขยายโรงงานในตปท. หลังจากนั้นเราก็กลับบ้าน นอนรอ ๆๆๆๆๆๆ อีกซัก1ปี บริษัทนี้ประสพความสำเร็จ ได้กำไรงดงาม เขาจ่ายปันผลให้เราเป็นดอกเบี้ยถึง 10-20% แต่ที่เก๋กว่านั้นคือ ราคาหุ้นของบริษัทแพงขึ้น จาก 3บาท เป็น 20 บาทในปัจจุบัน ผมรับดอกเบี้ยเสร็จแล้ว เทขายทิ้ง จะได้กำไรไม่รวมดอกเบี้ย หุ้นละ 17 บาท นั่นคือได้กำไร 170000 บาทจากการลงทุน แค่ 30000 บาท ไม่ต้องรอกรีดยาง 7 ปี

ตัวอย่างข้างต้นเป็นเรื่องจริงในตลาดหุ้นปีที่ผ่านมา ของบริษัทศรีตรังเอโกร STA อ้างอิงราคาปีที่แล้ว (ผมปรับตัวเลขตามการแตกพาร์นะ อย่าเพิ่งโวยว่าปีที่แล้วไม่ใช ่3 บาทสิ ชาวสินธร...รู้นะ พวกแกมาซุ่มอยู่..)
เพียงแต่ผมต้องอดทนรอเวลา ใช้เงินเย็นห้ามใช้เงินร้อน แช่แข็งเงินในตลาดหุ้น 1-3 ปีได้ รอเวลาราคาดีๆค่อยขาย
ถ้าราคาไม่ดี เก็บปันผลกินไปก่อน ยังไงก็ดีกว่าดอกเบี้ยธนาคาร
หลักการมีแค่นี้

ฟังดูเหมือนง่ายเนอะ.............. แค่ใช้เงินเย็น กับ เวลา เท่านั้น!!!!!!!!!!!!!
จุดยากมันอยู่ที......... แล้วจะรู้ได้ไงล่ะ ว่าหุ้นตัวไหน บริษัทไหนมันจะให้ผลตอบแทนดีอย่างนี้


ปล. ทั้งหมดข้างต้นเป็นแค่ตัวอย่าง ไม่จำเป็นต้องเล่นหุ้นอย่างเดียวนะ ซองนี้หมายถึงอะไรก็ได้ที่ใช้เงินเย็น กับเวลาทำงานแทนคุณ คุณไม่ต้องทำ แล้วมันจะส่งผลตอบแทนให้คุณอย่างหนักด้วยอิทธิฤทธิ์ดอกเบี้ยทบต้น

ภาค 2 แล้วจะลงทุนยังไงดีล่ะ???

ก่อน อื่นเลยต้องรู้กฎเหล็กสำหรับการลงทุน = ใช้เงินเย็นที่สามารถแช่แข็งได้ 2-10 ปีโดยไม่ถอนเท่านั้น!!!!!!!!! เงินร้อนเอาไปเก็บไว้ตุ่ม C ไป๊
ทำไมน่ะเหรอ ??? ทั้งนี้ก็ เพราะ
  1. การลงทุนมีความเสี่ยงครับ
    เหมือนคนอยากรวยก็ต้องทำธุรกิจ แต่ทุกคนที่เปิดกิจการทำธุรกิจขึ้นมาซักอย่าง เขาต้องยอมแบกรับความเสี่ยงที่จะเจ๊งถึง 95%
    นั่น หมายความว่าเงินจะลงทุนทำธุรกิจ ห้ามเป็นเงินร้อน ถ้ากิจการเจ๊งขึ้นมา ห้ามร้องว่าหมดตรู๊ด ไม่มีข้าวสารจะกรอกหม้อ ห้ามทุบตุ่ม A & B มาโปะ ซองลงทุนเด็ดขาด !!!!!!!!!!!!!
  2. เพราะการลงทุน ต้องใช้เวลา
    เหมือนมะม่วงก็ต้องรอหลายปีกว่าจะออกดอกออกผล
    ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินต้องใช้เงินขึ้นมา ต้องแน่ใจว่ามีเงินในตุ่ม A B C มากพอ ที่จะไม่ต้องมาถอนเงินออกจากการซองลงทุนนี้ เด็ดขาด ม่ายงั้นเจ๊งเอาได้ง่ายๆ

บทสรุป ประมวลความรู้จากบทที่ 1- 4

  1. สำหรับทุกๆคน : ใช้สมการคนรวย + แบ่งเงินใช้สอย เป็น 4 ซอง + ลดรายจ่าย + เพิ่มรายได้ (หางานพิเศษนอกเวลาทำซะบ้าง) + มีวินัยสม่ำเสมอในการใช้หนี้ และรักษารายจ่ายให้คงที่
  2. คนที่ปากกัดตีนถีบ เงินเก็บเท่าหอยมดก็ยังไม่มี : เริ่มเก็บเงินใส่ตุ่ม A ก่อน , ส่วนซองลงทุน ให้เป็นซองเล็กๆ เน้นทำบุญเป็นหลัก
  3. คนที่เก็บเงินมาระยะนึงจนตุ่ม A & B เต็มแล้ว และเริ่มมีเงินในตุ่ม C : เริ่มพิจารณาลดปริมาณเงินที่เข้าตุ่ม C แบ่งมาใส่ซองเงินลงทุน โดยเริ่มลงทุนจากของที่ใช้ทุนต่ำๆก่อน เช่นกองทุน ที่มีขายตามธนาคาร , ระยะนี้ ซองเงินลงทุนเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ อาจเท่ากับเงินที่ฝากเข้าตุ่ม C เลยก็ได้
  4. คนที่ตุ่ม C ใหญ่แล้ว เซ็งที่จะรับดอกเบี้ยต่ำๆจากธนาคารหรือสลากออมสิน : หยุดฝากเงินเข้าธนาคาร ปิดฝาตุ่ม A B C ได้แล้ว จากนี้ไปเงินเก็บจะไหลไปซองเงินลงทุนอย่างเดียว และ เลือกการลงทุนที่เหมาะกับความรู้ของตน
  5. เป้าหมายสุดท้าย = อิสรภาพทางการเงิน (FF) = สินทรัพย์ในซองลงทุน ผลิตเงินให้เราพอเลี้ยงตัวได้สม่ำเสมอตลอดชีวิต โดยเราไม่จำเป็นต้องทำงานอีกเลย...........

+++++++++ได้เวลาแจกการบ้านชุดใหญ่แล้วครับ ++++++++
การบ้านชุดนี้ ใครทำแล้ว ถึงไม่อ่านบทที่5 ก็รวยได้.........

การบ้าน4.1 : จากบทสรุปเนื้อหาบท1-4 ข้างบนนี้ คุณเป็นคนหมวดไหนในกลุ่ม 2-3-4?

การบ้าน4.2 : คุณควรเลือกแผนบริหารจัดการการเงินอย่างไร จากโจทย์
ใช้ สมการคนรวย + แบ่งเงินใช้สอย เป็น 4 ซอง + ลดรายจ่าย + เพิ่มรายได้ (หางานพิเศษนอกเวลาทำซะบ้าง) + มีวินัยสม่ำเสมอในการใช้หนี้ และรักษารายจ่ายให้คงที่
ให้แจงรายละเอียดของตัวเองออกมาว่า
- แบ่งเงิน4ซอง อย่างละกี่%
- ลดรายจ่ายยังไง? เพิ่มรายได้ยังไง? (บางคนไม่จำเป็นก็ไม่ต้อง)
- จากคำตอบ 4.1 คุณจะแบ่งเงินเก็บ และ เงินลงทุนอย่างไร จึงจะเหมาะสมประเภทของตัวเอง

การบ้าน4.3 : การลงทุนที่เหมาะสมสำหรับคุณคืออะไร???

การบ้าน ชุดนี้ท้าทายนะครับ ไม่มีถูกผิด ไม่มีเฉลยครับ ให้ทุกคนแชร์ความเห็นตัวเอง และเพื่อนๆช่วยกันเม้นท์ ตามใจชอบ ใครทำจะ get เอง ใครไม่ทำนั่งอ่านเฉยๆจะไม่ get เท่าคนที่เค้าทำนะครับ

ขอบคุณ  : บทความ โดยคุณ หล่อใสไร้รัก แห่งสยาม

วิธีการและเคล็ดลับการเก็บออม ตอน ๑

วิธีการและเคล็ดลับการเก็บออม

บทนำ

ความเชื่อที่ว่าเศรษฐีืคือคนที่ใช้ชีวิต อย่างสุขสบาย, กินอยู่อย่างหรูเริด, บ้านเป็นคฤหาสน์หลังใหญ่อย่างกะวัง, รถหรูคันงาม, ชอปกระจาย กินใช้อย่างฟุ่มเฟือย, ข้าทาสบริวารตามเป็นพรวน ฯลฯ

เป็นเพียง "ภาพมายา" ที่วงการโทรทัศน์สร้างขึ้นมาทั้งนั้น (อันนี้น่าแปลกที่ละครต่างประเทศไม่เคยสร้างภาพความรวยแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นเกาหลี, ญี่ปุ่น, อเมริกา มีแต่ละครไทยนี่แหละ ไม่ว่าจะเก่าแบบบ้านทรายทอง หรือล่าสุดแบบวนิดา)

การวิจัยเกี่ยวกับ พฤติกรรม "คนรวย" ในสหรัฐอเมริกาต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปี โดยสัมภาษณ์เก็บข้อมูลคนที่มีทรัพย์สินเกิน 1 ล้านเหรียญ (ซึ่งมีเพียง 3.5% ของประชากรทั้งประเทศ) กว่า 500 คน และสำรวจข้อมูลผู้ที่มีรายได้สูงอีกกว่า 1 หมื่นคน

พบว่าเศรษฐีส่วน ใหญ่ไม่ได้มีชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือย และปัจจัยที่ส่งเสริมให้ฐานะมีความมั่นคงอยู่ได้ เกิดจากพฤติกรรมสำคัญ 7 ประการ อันได้แก่

  1. มีความมัธยัสถ์ รู้จักเก็บหอมรอมริบ ใช้จ่ายน้อยกว่าเงินที่หาได้
  2. มีการจัดสรรเวลา พลังงาน และเิงิน อย่างมีประสิทธิภาพในการสะสมความมั่งคั่ง
  3. มีความเชื่อว่าอิสรภาพทางการเงิน สำคัญกว่าการแสดงออกซึ่งฐานะอันสูงส่ง
  4. ไม่ได้คาบช้อนเงินช้อนทองมาตั้งแต่เกิด พ่อแม่ไม่ได้อุ้มชูด้วยเงินทอง (อันนี้มีข้อมูลชัดเจนว่า โดยเฉลี่ยความมั่งคั่งร่ำรวยที่ส่งต่อผ่านจากรุ่นพ่อแม่ ลงมาลูกหลาน มักจะ maintain ได้ไม่เกิน 3 generations จะเสื่อมถอยลง)
  5. ลูกหลานที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว สามารถพึ่งพาตนเองได้
  6. มีประสบการณ์และทักษะในการแสวงหาโอกาส
  7. มักเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว หรือประกอบวิชาชีพอิสระ
"คนที่รวยจริง (be rich) ไม่ใช่คนที่ดูรวย (look rich) อย่างที่เราเข้าใจกัน"

เคยสังเกตหรือเปล่าว่าคนที่รวยเฉียบพลัน (acutely rich) มักมีฐานะจนลงหรือแย่ลงกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นอดีตนักแสดง, ดารา, ตลก, อดีตนักมวยแชมป์โลก หรือนักกีฬาเหรียญโอลิมปิก ฯลฯ มีซักกี่คนที่ยังคงเก็บสะสมเงินทองทรัพย์สมบัติที่ได้มา หรือต่อยอดทรัพย์สินเหล่านั้นให้เพิ่มขึ้นได้ รายได้, เงินรางวัล, ทอง ฯลฯ ที่ได้มามันหายไปไหนหมด ?

ดังนั้น การมีเงินอย่างเดียว ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร หรืออาจทำให้ปัญหามันมากขึ้น ถ้าเราไม่มีวิธีคิด หรือความรู้ในการจัดการที่ถูกต้อง

เป้าหมายของอิสรภาพทางการเงิน (financial freedom / financial independence) ไม่ได้แปลว่าเราจะรวย แต่หมายถึงว่าเราต้องการมีหลักประกันทางการเงินที่มั่นคง เพียงพอที่จะใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย สมควรแก่อัตภาพโดยไม่ต้องพึ่งพาใคร และไม่ต้องหวาดผวากับปัญหาเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ในการใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ

เพื่อน ๆ ต้องการอิสรภาพทางการเงินกันหรือเปล่า?


เป้าหมายของอิสรภาพทางการเงิน ดูยังไง

จริง ๆ มีหลายสูตร แต่ที่จะให้เพื่อน ๆ ลองใช้แบบง่าย ๆ ก็คือ

  1. ดูว่าค่าใช้จ่ายต่อเดือนของเราที่จะกินอยู่แบบพอมีพอใช้สบาย ๆ ในตอนนี้มันซักเท่าไหร่
  2. คิดว่าเพื่อน ๆ จะทำงานต่อไปอีกซักกี่ปี
  3. ให้คำนวณค่าใช้จ่ายเมื่อถึงเวลาเกษียณ ตามเงินเฟ้อเฉลี่ยเมื่อเวลาผ่านไปถึงปีที่เกษียณ
  4. คำนวณว่าถ้าเราต้องการทรัพย์สินให้ทำงาน สร้างผลตอบแทนให้ได้เท่ากับค่าใช้จ่ายนั้น เราต้องมีทรัพย์สินซักเท่าไหร่
ยกตัวอย่างง่าย ๆ มาให้ดู
     สมมติว่า เราต้องกินอยู่ใช้จ่าย ในแต่ละวันทุกวันนี้ มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 2 หมื่นบาท และทำงานต่อไปอีกซัก 20 ปีจึงจะเกษียณ     ที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปีละ 3.5% ใน 20 ปีข้างหน้า เงินจะมีค่าเหลือเพียงครึ่งเดียว ดังนั้นที่ 20 ปีข้างหน้า เราต้องการเงินใช้จ่ายเดือนละ 4 หมื่น จึงจะเพียงพอ (การคำนวณเงินเฟ้อระยะยาวเฉลี่ยปีละ 3.5% ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ระยะเวลา 20 ปี ดอกเบี้ยจะทบต้นจาก 100 -> 198.98)

ถ้าทรัพย์สินของเรา ทำงานให้เราด้วยผลตอบแทน 5% ต่อปี (เอาแบบปลอดภัย ไม่ต้องตื่นเต้นกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ก็ลงทุนพวกพันธบัตรรัฐบาล, หุ้นกู้ ควรจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณนี้) เราจำเป็นต้องมีทรัพย์สิน = (40,000 x 12 x 100)/5 = 9,600,000 บาท

หมายความว่าเรามีเวลา 20 ปีในการหาเงินให้ได้ประมาณ 9 ล้าน 6 แสนบาท เราก็จะเกษียณได้อย่างมีความสุข

หรืออีกสูตรนึง แบบง่ายๆ คือ เป้าหมายทางการเงิน ประเมินจาก
WEALTH RATIO = รายได้จาก “สินทรัพย์” / รายจ่าย
ควรให้ WR > 1 จึงจะมีอิสรภาพทางการเงินได้

หมายเหตุ
สินทรัพย์ = สิ่งที่ผลิตรายได้ให้เรา สม่ำเสมอ แม้เราจะไม่ได้ทำงาน แต่สิ่งเหล่านี้จะทำงานหาเงินแทนเรา เช่น หุ้น ตราสารหนี้ บ้าน/ อสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้เช่าหรือขาย
ทรัพย์สิน = สิ่งที่ผลาญเงินเราสม่ำเสมอ เช่น รถ (ใครบอกว่าเป็นทรัพย์สิน มันผลาญเงินคุณตะหาก ค่าน้ำมันเอย ค่าซ่อมบำรุงเอย) บ้านที่มีไว้อยู่อาศัยเอง เป็นต้น


“เป้าหมายทรัพย์สินที่ท่านควรมี” = อายุ x รายได้ทั้งปี / 10

เช่น ของผม ตอนนี้มีรายได้ตลอดปี 1.68 ล้าน อายุ 38 ปี ผมควรมีเงินเก็บ 6,384,000 บาท นั่นคือเป้าหมายขั้นต่ำที่ต้องไปให้ถึง เพราะถ้าไม่ถึงแล้ว ตอนที่เราเกษียณ จะลำบากมาก

แล้วมันจะทำได้ไงล่ะ รายได้ตอนนี้ออกจะ เบี้ยน้อย หอยเล็กกันขนาดนี้.........

บทที่ 1 สมการคนจน vs. สมการคนรวย

บทนี้จะว่าด้วยเรื่องเงินเก็บออมกันก่อนเลย....................

ทำไมหลายคนมีเงินเดือนสูงแต่ไม่รวยซักที
ทำไมคนส่วนน้อยบางคนมีเงินเดือนนิดเดียว แต่กลับมีเงินเก็บพอกพูนขึ้นทุกวัน ?
เป็นเพราะสมการในการใช้ชีวิตต่างกัน

คนส่วนใหญ่ที่จนตลอดชีวิต เป็นเพราะเขามีสมการในการใช้ชีวิตว่า
รายได้ – ค่าใช้จ่าย = เงินเก็บออม
สมการนี้ฝังหัวพวกคุณใช่มั้ยครับ แต่มันคือ "มิจฉาทิฐิ" เป็น "ความเห็นผิด" อย่างยิ่งยวดดดด

หลายคนอาจจะเถียงว่า โหย แค่จะกินจะใช้ยังชักหน้าไม่ถึงหลังเลย จะเอาที่ไหนมาเก็บ????

งั้นผมถามกลับมั่ง...........

คุณบ่นว่าคุณจนจะตัยหอง แล้วทำไมถึงมีเงินจ่ายค่ารายเดือนมือถือทุกเดือนไม่เห็นถูกระงับเบอร์??
คุณบ่นว่าชักหน้าไม่ถึงหลัง แล้วทำไมถึงมีเงินจ่ายค่าเช่าบ้านทุกเดือน ไม่ถูกไล่ออกจากบ้าน????
คุณบ่นว่าจนกรอบจะแย่ แล้วทำไมมีตังค์กินข้าวทุกมื้อ ไม่เห็นอดอยาก ?????

เพราะ คุณ"รู้อยู่แล้ว" ใช่มั้ยครับ ว่าค่าใช้จ่ายสำหรับพวกนี้เดือนนึงประมาณเท่าไหร่ และคุณก็ "กันเงินไว้แล้ว" สำหรับจ่ายพวกนี้ใช่มั้ยครับ?

ให้ทำอย่างนั้นกับเงินเก็บบ้างสิครับ!!!!!

ทันที ที่เงินเดือนออก หักออกมาเป็นจำนวนที่คุณ"รู้อยู่แล้ว"ว่าวางแผนจะเก็บเท่านี้ทุกๆเดือน และ "กันเงินไว้แล้ว" สำหรับหยอดกระปุก ไม่ยอมให้กระปุกแห้งเหี่ยวอีกต่อไป

หักเอาเงินเก็บออกมาก่อน ถ้าฝากธนาคาร ต้องเป็นบัญชีฝากประจำฝังตุ่ม ไม่มีบัตรATM ไม่มีการถอน รักษายิ่งชีพ เพราะมันคืออนาคตของคุณ

แล้วจึงหักเงินที่คุณ "รู้อยู่แล้ว" ว่าค่าใช้จ่าย fix ต่อเดือนมีอะไรบ้าง ค่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ โทรศัพท์ เป็นอันดับต่อไป

เหลือเท่าไหร่นั่นแหละ จึงจะเป็นค่าใช้จ่าย ที่คุณต้องเอาตัวให้รอดถึงสิ้นเดือนให้ได้ด้วยจำนวนเงินแค่นั้น
อย่าบอกว่าเป็นไปไม่ได้..............
ลูกกบลูกเขียดออกมาจากไข่ ไม่มีพ่อแม่เลี้ยงดู มันยังดิ้นรนโตขึ้นมาด้วยตัวเองได้
เราเป็นคนมีสติปัญญา เหลือเงินให้เราแค่นี้ ต้องเค้นปัญญาทุกเม็ดมาหาทางเอาตัวรอดด้วยเงินแค่นี้ให้ได้.......

สรุปว่า สมการของคนรวยก็คือ " รายได้ – เงินเก็บ = ค่าใช้จ่าย "
สลับข้างกันแค่นี้ คุณจะรวยทันที !!!!!!

ระหว่างรอผมพิมพ์บทที่ 2 ขอเชิญเพื่อนๆช่วยกันแชร์ว่า
ถ้าคุณใช้สมการคนจน ใส่ตัวเลขจริงๆของคุณลงไป จะเหลือเงินเก็บต่อเดือนเท่าไหร่
ถ้า คุณใช้สมการคนรวย ใส่ตัวเลขลงไป จะเหลือเงินให้ใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่??? คุณจะอยู่รอดด้วยเงินที่เหลือได้อย่างไรบ้าง ลอง discuss ถกเถียงกันหน่อยดีมั้ย

อย่าให้ผม lectureฝ่ายเดียว มาโต้ตอบ มา workshop เชิงปฏิบัติการกันดีกว่า..............

บทที่2 แบ่งเงินใส่ซอง 4 ซอง

รู้ไหมว่าพระพุทธเจ้าของเราได้ทรงสั่งสอนธรรมะสำหรับฆราวาสผู้ครองเรือนไว้มาก
หนึ่งในนั้นคือการเก็บเงินและการบริหารเงิน
มีจริงๆในพระไตรปิฎก ใครไม่เชื่อไปเปิดดูได้
แต่ที่ amazing กว่านั้นคือ ไปเปิดหนังสือว่าด้วยการเก็บและบริหารเงินทุกเล่ม
จะพบว่า เศรษฐีระดับโลกส่วนใหญ่ ใช้หลักการเดียวกันนี้หมดเลย
ไม่รู้ว่าแอบมาอ่านพระไตรปิฎกไปเขียนตำรากัน หรือว่าเกิดบรรลุเองโดยธรรมชาติไม่ทราบได้???
แต่สรุปว่าดังนี้...............................

พระพุทธองค์ทรงสอนว่า การครองเรือนต้องแบ่งเงิน ที่หาได้มาแยกเป็น 4 ส่วนคือ
  • เงินใช้หนี้ : มีหนี้ก็ใช้ซะ ถ้าไม่มีส่วนนี้คือเงินใช้หนี้บุพการีและผู้มีพระคุณ บำรุงพ่อแม่ให้ท่านสุขสบาย
  • เงินใช้จ่ายในครอบครัว : ค่าใช้จ่ายทุกอย่าง รวมทั้ง เลี้ยงดูบริวารลูกน้อง
  • เงินออม : หมายถึงเงินออมฝังตุ่มจริงๆ ไม่ใช่บัญชีออมทรัพย์ ต้องไม่มีบัตร ATM ห้ามแตะ ถ้าไม่ใช่ภาวะฉุกเฉิน
  • เงินลงทุน : เพื่ออนาคต ยังไงก็ต้องเอาเงินมาลงทุนต่อเป็นเงินใหม่นะ ตรงนี้ให้นับรวมถึงเงินทำบุญด้วย เพราะบุญคือการลงทุนเพื่ออนาคตเสมอ
(ขอเพิ่มตรงนี้นิดนึง หลายคนอาจเถียงว่าฝรั่งมังค่าเค้านับถือศาสนาอื่นไม่เชื่อเรื่องบุญ ทำไมเขารวยจัง ขอตอบเลยว่าใช่ครับ แต่ไม่ใช่ฝรั่งที่เป็นมหาเศรษฐีครับ
คุณ ลองศึกษาประวัติ warren buffet , Bill Gates , Steve Jobs คนเหล่านี้เชื่อเรื่องกรรมมากๆๆๆๆๆ และเขาเหล่านี้ทำบุญบริจาคทานทุกอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่สมัยยังจนกรอบ สมัยหนุ่มๆแล้วครับ พวกเขามักสอนด้วยว่า จงเริ่มหัดทำบุญตั้งแต่วันที่คุณยังจนนี่แหละ ไม่งั้นจะไม่มีวันมั่งมีอย่างเค้า...)

เหมือนคู่มือเก็บเงินที่เราอ่านเลยเนอะ ไม่น่าเชื่อว่าพระองค์สอนมาแต่โบราณ
แต่ ปัญหาคือ ทุกคนพออ่านตรงนี้เสร็จแล้ว จะเข้าใจผิดเหมือนกันหมดว่า ได้เงินมาแล้วต้องแบ่ง 4ส่วนเท่าๆกันก้อนละ 25% ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดสุดๆ

เพราะ คนส่วนใหญ่เข้าใจอย่างนั้นเลยบอกว่า "ฉันจะมีเงินเก็บได้ไง แค่ใช้จ่ายกะใช้หนี้ ยังชักหน้าไม่ถึงหลัง" พอมีมิจฉาทิฐิเหล่านี้ เลยไม่มีความเพียร ในการเก็บ สุดท้ายก็ไม่มีเงินเก็บ

ความจริงคือให้แบ่งสี่ส่วนไม่ต้องเท่ากัน ตามแต่ความเหมาะสม แต่ยังไงก็ต้องแบ่ง

เช่น ของนายจนจัง อาจต้องเป็นเงินใช้หนี้ซะ 50% ค่าใช้จ่าย 45% เงินออม 3% ยังไงก็ต้องมีลงทุน 1-2% เริ่มจากการลงทุนน้อยๆ เช่นสลากออมสิน 50 บาท ต่อเดือน ให้ขอทาน 10 บาทต่อเดือน ใส่บาตร 1 ครั้งต่อเดือน ก็ยังดี ทำไมน่ะเหรอ? เพื่อสร้างนิสัยไง ถ้าไม่เริ่มจากบาทแรก ก็จะไม่มี 10 บาทในเดือนที่สอง จะไม่มีร้อยบาทในเดือนที่สามที่จะตามมา.....

เมื่อ บริหารแบบนี้แล้ว ต่อๆไปการเงินของเราจะเริ่มมีระบบ อัตราส่วนจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เชื่อมั้ยเศรษฐีส่วนใหญ่ยังมีหนี้อยู่เลย แต่ตัวเลขจะเปลี่ยนเป็น
ใช้หนี้ 10% รายจ่าย 10% เงินออม40% เงินลงทุน 40%

และเมื่อสบายแล้วรวยแล้ว ก็อาจเปลี่ยนเป็น
ใช้หนี้ 1% รายจ่าย 5% เงินออม 34% เงินลงทุน 60% อย่างนี้เป็นต้น

บทที่ 3 บริหารเงินเก็บ

ดูที่ซองเงินสี่ซองในบทที่สอง บทนี้จะ focus ไปที่ซองเงินเก็บแค่ซองเดียวครับ
โดย ในซองเดียวนี้ เราจะแยกเงินออกมาใส่ตุ่มย่อยอีก 3 ตุ่ม A B C โดย เราจะไล่ตักเงินใส่ตุ่ม A ให้เต็มก่อน แล้วจึงไปใส่ตุ่ม B แล้วค่อย ตุ่ม C ตามลำดับ
นั่นคือ เราต้องให้ความสำคัญกับ ตุ่ม A > B >C ตามลำดับ ทำไมน่ะหรือ??
มันก็กลับมาที่คำถามว่า " เราเก็บเงินไปเพื่ออะไรครับ? "
คำตอบมีหลายอย่าง ส่วนใหญ่จะวนอยู่กับ
  • เอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
  • ประกันความเสี่ยง เผื่อเกิดเหตุร้ายขนาดทำงานไม่ได้ หรือถึงกับเสียชีวิต(มีพ่อแม่ลูกเมียอยู่ข้างหลัง)
  • เก็บเพื่อจะรวยไง
ทุกเหตุผลถูกหมดครับ แต่ถ้าให้เรียงลำดับความสำคัญล่ะ ????
ใช่ครับ ความร่ำรวยคือเหตุผลสุดท้ายที่สำคัญน้อยที่สุด!!!!!!!

ตุ่ม A = เงินสดเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
ตุ่มนี้สำคัญสุดครับ ต้องเติมตุ่มนี้ให้เต็มก่อน ถ้ายังไม่เต็ม อย่าได้กระแดะคิดหวังร่ำรวยเลยเชียว

สูตรคำนวณเงินสดฉุกเฉิน โดยทั่วไปคำนวณจากภาวะฉุกเฉินที่พบบ่อยว่า
ถ้าเราเกิดอุบัติเหตุรถคว่ำแข้งขาหักทำงานไม่ได้ หรือเกิดซวยโดนไล่ออกจากงาน
คนส่วนใหญ่ใช้เวลารักษาตัวจนกลับไปทำงาน หรือเตะฝุ่นหางานทำจนกว่าจะได้งานใหม่ จะใช้เวลา เฉลี่ย 6 เดือน   กลับไปทำงานแล้ว ต้องรอเวลาเงินเดือนออก 1 เดือนถึงได้ตังค์  รวมเป็นช่วงเวลาที่เดือดร้อนเฉลี่ย 7 เดือน

7 เดือนนี้คุณจะมีชีวิตรอดไปถึงวันเงินเดือนออกรอบต่อไปหรือไม่ ????

ฉะนั้น เงินสดที่ควรเก็บเผื่อฉุกเฉินคือ " ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของเรา x 7 " = ปริมาณเงินที่ต้องเติมให้เต็มตุ่ม A ครับ

วันนี้คุณรู้หรือยัง ว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน เพื่อความอยู่รอดของคุณ คือเท่าไหร่?
ถ้ายัง .... ได้เวลาจดบัญชีรายรับรายจ่ายแล้ว
สำหรับคนขี้เกียจเหมือนผม แสนรำคาญที่ต้องมาจดค่าใช้จ่ายจิปาถะ อย่างน้อยขอให้ฝืนจดซักเดือนเดียวก็ยังดี
การจดบัญชีทำให้คุณรู้รอยรั่ว ว่าค่าน้ำหวาน ค่ากาแฟที่คุณจ่ายไปหลังอาหารเที่ยงทุกวัน มันฟุ่มเฟือยและดูดเงินคุณหายไปขนาดไหน   รอยรั่วไหนอุดได้ รอยไหนอุดไม่ได้??

เมื่อจดครบเดือนแล้ว ให้วิเคราะห์สรุปว่า ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยไหนที่เราจะตัดออก หรือลดปริมาณให้เหลือแค่ 1 ครั้งต่อสัปดาห์  แล้วเราจะได้เคาะตัวเลขค่าใช้จ่ายจำเป็นที่แท้จริงออกมา รักษาวินัยให้มันอยู่แค่นั้นให้ได้ทุกเดือน

และเมื่อเอามาคูณ 7 , มันคือเป้าหมายของตุ่ม A  เติมเงินในตุ่มนี้ให้เต็มตามจำนวนเป้าหมาย  เสร็จแล้วปิดตุ่มทิ้ง ฝังลืมไปเลยครับ ห้ามถอนเงินประกันความเสี่ยงของเราออกมาใช้ ถ้าไม่มีญาติป่วยหนักต้องใช้ตังค์ หรือเกิดเหตุร้ายข้างต้น    ฝังทิ้ง  แปลว่า " ไม่ฝากเงินเพิ่มในตุ่มนี้ " ด้วยนะครับ !!!!! ให้ปิดตายตุ่มนี้ไปเลย
เงินที่เหลือล้นจากตุ่มนี้ เอาไปใส่ตุ่ม B ต่อครับ

ตุ่ม B = เงินประกันความเสี่ยงขั้นวิกฤติ
ตุ่ม B นี้คือการประกันความเสี่ยงแผนสำรอง หากเจอเหตุที่หนักหนาสาหัสยิ่งกว่ากว่าตุ่ม A แตกครับ
คือ ถ้าเราไปไม่ถึงดวงดาว เกิดอุบัติเหตุพิการ เป็นภาระกับคนอื่นตลอดชีวิต ล่ะ?? คนที่ดูแลเรา ต้องการเงินเท่าไหร่ในการพาตัวเขาและเราให้รอด
สำหรับคนมีลูกเมีย ถ้าเราถึงกับตายไปก่อนล่ะ คนข้างหลังจะเป็นยังไง???

ฉะนั้นควรเจียดเงินมาซื้อประกันชีวิตเอาไว้เพื่อให้ได้วงเงินเหมาะสมที่จะคุ้มครองเราและคนข้างหลังเราได้..........
แต่ในการ ทำประกัน อย่ามองที่ผลตอบแทน เพราะเราต้องการ "ประกันความเสี่ยง" ไม่ใช่การลงทุน

พูด ง่ายๆ อย่าซื้อประกันประเภท ที่ส่งเบี้ยแค่ 5 ปี ปีที่10 รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย 10-20% สูงโคตร แต่..............มันคุ้มครองคุณแค่ 10 ปีนะ
และที่สำคัญ มันคือดอกเบี้ย 10-20% ต่อ 10 ปี ไม่ใช่ 10-20% ต่อ 1 ปี !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
อย่าถูกเขาหลอกนะครับ

ที่ สำคัญ ประกันชีวิต ไม่เหมือนเงินฝากธนาคาร คือถอนไม่ได้!!!!!! ถ้าคุณยกเลิกสัญญาขอปิดบัญชี ถอนเงินก่อนจะครบสัญญา ขาดทุนครับ เงินต้นก็ได้ไม่ครบ ดอกเบี้ยเป็นอันยกเลิกครับ!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

เราซื้อประกันความเสี่ยง เราไม่ได้หวังรวยจากดอกเบี้ยประกันชีวิต
ดอกเบี้ยสูงจะมีประโยชน์อะไร ถ้าค่าครองชีพสูงตาม?????
ถามตัวเองเหอะ ว่า สิบปีที่แล้ว ก๋วยเตี๋ยว ชามละกี่บาท เดี๋ยวนี้ กี่บาท????
ดอกเบี้ยที่ว่าสูง ทันกับราคาก๋วยเตี๋ยวที่เพิ่มขึ้นไหม???
ใจเย็นนะครับ เดี๋ยวไปถึงตุ่ม C เราจะพูดเรื่อง หาดอกเบี้ยให้สูงยิ่งกว่าสูงโคตรได้อย่างไร

แต่ในตุ่ม B นี้เราจ่ายเงินเพื่อต้องการแค่ "การประกันความเสี่ยงเท่านั้น " ไม่ได้หวังจะได้เงินคืนเลยครับ
ฉะนั้นที่ถูกแล้ว ให้เลือกแบบประกันที่ "แทบไม่ได้รับเงินคืนเลย " เพราะแบบประกันพวกนี้ จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. คุ้มครองยืดยาว ถึงอายุ 60 หรือตลอดชีวิต
2. เบี้ยถูกมากกกกกก สมัยผมซื้อ(นานแล้ว)

บทแทรก

ผมจะขอแยกแยะให้เพื่อนๆฟังดังนี้
1.
ในบทนำผมได้บอกแล้วว่า รถ และบ้านไม่ใช่ สินทรัพย์ แต่เป็นทรัพย์สิน หรือ Robert Kiyosaki เรียกว่าหนี้สิน
เพราะมันเป็นสิ่งที่ผลาญเงินคุณ จะเรียกมันว่าเป็นสินทรัพย์ไม่ได้
ค่าน้ำมันเอย ค่าซ่อมบำรุงเอย มีบ้านก็ต้องจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ค่าซ่อมบำรุงจิปาถะ มันดูดเงินเราทุกวัน จึงเรียกมันว่า "หนี้สิน"

ส่วน สินทรัพย์ = สิ่งที่ผลิตรายได้ให้เรา สม่ำเสมอ แม้เราจะไม่ได้ทำงาน แต่สิ่งเหล่านี้จะทำงานหาเงินแทนเรา เช่น หุ้น ตราสารหนี้ บ้าน/ อสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้เช่าหรือขาย

แต่คุณคนดีที่หนึ่ง ได้แปลง "หนี้สิน" เป็น "สินทรัพย์" โดยเอารถนั้นมาลงทุนขนของไปขาย  เช่นเดียวกับคนที่ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด แล้วปล่อยให้เช่า  หนี้สินนั้นจะกลายเป็น ทรัพย์สิน คือผลิตเงินให้เราได้

แต่กรณีรถนี้ยังไม่เป็น "สินทรัพย์" โดยสมบูรณ์นะครับ  เพราะ "สินทรัพย์" โดยสมบูรณ์ ต้องมีความสามารถในการผลิตเงินให้เราได้ โดยที่เราไม่ต้องไปนั่งเฝ้ามัน เช่นการมีบ้านให้เช่า เราก็ไปเที่ยวหลั่ลล้าตจว.ได้เลย สิ้นเดือนค่อยเดินมาเก็บเงิน


2.ประธานบริษัท Amway มักเล่าเรื่องน่าประทับใจเรื่องหนึ่งว่า   ตอนเขาเด็กๆ พ่อเขาทำงานเป็นพนง.ออฟฟิศต๊อกต๋อยแห่งหนึ่ง พอเลิกงานแล้วเขากลับมาเปิดบ้านเป็นอู่ซ่อมรถหารายได้พิเศษ  เขาถามพ่อว่า ทำไมพ่อต้องทำงานหนักแบบนี้???
พ่อตอบว่า "ลูกเอ๋ย ในเวลาราชการ พ่อทำงานเพื่อความอยู่รอด  แต่นอกเวลาราชการ พ่อทำงานเพื่อสร้างอนาคต "


ใครเอาแต่บ่นว่าจน แล้วยังไม่ได้ทำอย่างนี้ ..................................................................................... " หุบปากไปเลย "


เมื่ออ่านจบบทที่ 2 แล้ว คุณคงรู้แล้วว่า
สมการคนรวยที่แท้จริงคือ    ราย ได้ – เงินเก็บ – ค่าใช้จ่าย fix (เช่นค่ามือถือ ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ที่เรารู้อยู่แล้ว) - ใช้หนี้(ไม่มีหนี้ก็ให้พ่อแม่) – เงินลงทุน(และทำบุญ) = ค่าใช้จ่ายจิปาถะที่เหลือเอาตัวรอดให้ได้ถึงสิ้นเดือน

ได้เวลา  workshop แล้วจ้า พวกซุ่มแอบดูทั้งหลายยยยยยย แสดงตัวส่งการบ้านซะดีๆ

การบ้าน 1
ให้ทุกคนลองส่งการบ้านว่า ถ้าใช้สมการนี้กับตัวเองแล้ว ใส่ตัวเลขออกมาเป็นเท่าไหร่?
ถ้าอาย จะใส่เป็นเปอร์เซ็นต์ก็ได้ครับ เช่น   ราย ได้ – เงินเก็บ – ค่าใช้จ่าย fix (เช่นค่ามือถือ ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ที่เรารู้อยู่แล้ว) - ใช้หนี้(ไม่มีหนี้ก็ให้พ่อแม่) – เงินลงทุน(และทำบุญ) = ค่าใช้จ่ายจิปาถะที่เหลือเอาตัวรอดให้ได้ถึงสิ้นเดือน  คือ 100% - 30% - 30% - 10% = 30% อย่างนี้ก็ได้


ฝากการบ้านท้ายบทที่ 3 ด้วยนะครับ
คำถามท้ายบท
3.1 ถ้าตุ่ม C ของคุณเป็นเงินฝากประจำที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุด ตอนนี้ธนาคารไหนให้ดอกเบี้ยสูงสุด อัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่? (อนุญาตให้พึ่งอากู๋หาคำตอบได้)
3.2 จากคำตอบข้อแรก หากคุณฝากเงินทุกเดือนด้วยบัญชีดังกล่าว ประมาณ 1000 บาทต่อเดือน ทุกเดือน ปีที่1 ยอดเงินในบัญชีเท่ากับเท่าไหร่ ไล่ไปถึงปีที่ 20 จะมียอดเงินฝากเท่าไหร่ โดยให้คิดอัตราดอกเบี้ยทบต้นด้วย?

บทแทรกท้ายบทที่3

จะเห็นว่า ในตุ่มเก็บเงิน A B C นี้
มีตุ่มA เท่านั้นที่เป็นเงินร้อน คือ ต้องเก็บในที่สภาพคล่องสูง เช่นฝากธนาคาร
มีเหตุฉุกเฉินเมื่อไหร่ต้องถอนมาใช้ได้ทันที

ส่วน ตุ่ม B กับ C เป็นเงินเย็นเจี๊ยบ แช่แข็งในส่วนที่ให้ผลตอบแทนสูงแต่ถอนยาก ถอนลำบาก คือมั่นใจว่า เรามีอะไรเดือดร้อน เราไม่แตะ สองตุ่มนี้ เงินสองตุ่มนี้ฝากแล้วปิดตาย อีก 2 – 20 ปีค่อยมาถอนได้

ปัญหาคือตุ่ม C นี่แหละ เป็นตุ่มที่พอเก็บเงินมากๆ ก็ยั่วใจ อยากถอนมาซื้อบ้านซื้อรถ จนเป้าหมายที่จะมี FF พังพินาศ  ขอให้แยกแยะให้ดี อยากได้อะไร ก็หักเงินค่าใช้จ่ายไปซื้อสิครับ อย่ามาแตะตุ่มนี้เด็ดขาด!!!!!

เข้าใจแล้วนะ แต่ทีนี้มาถึงปัญหา ว่า ตุ่ม C แม้จะใหญ่โต แต่ถ้าดอกเบี้ยเท่าหอยมดอย่างงั้น เก็บตังค์ไปยังไงก็ท้อครับ

เรามีทางออกให้ แบ่งเงินจากตุ่ม C มาใส่ซอง " ลงทุน " สิครับ
อาจารย์ที่ผมนับถือท่านนึงสอนผมเสมอว่า

"จงอย่าแหกปากบ่นๆๆๆๆๆ แล้วสบัดตูดเดินจากไป.......เพราะนั่นแปลว่าคุณเห่าหอนโดยไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรเลย   แต่จงบ่นต่อเมื่อ  คุณมีข้อเสนอมายื่นกับผมว่า ไอ้โน่น  ไอ้นี่มัน   ไม่work  และคุณขอเสนอว่าควรจะเปลี่ยนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้..............

เพราะนั่นแปลว่า คุณมีพันธะสัญญาที่จะเปลี่ยนแปลง และคุณ"คิด"มาแล้วว่าน่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไง
นั่นแปลว่า คุณมีสมองและรู้จักใช้ ไม่ใช่เอาแต่เห่าหอนไปวันๆ
"


ขอโทษที่ใช้คำแรง แต่ผมมีวันนี้ได้ เพราะอาจารย์ผมเฆี่ยนผมมาด้วยคำพูดแบบนี้จริงๆ

ขอบคุณ  : บทความ โดยคุณ หล่อใสไร้รัก แห่งสยาม

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประธานาธิบดีที่จนที่สุดในโลก

บุคคลโลก .... ประธานาธิบดีที่จนที่สุดในโลก

โฮเซ มูจีกา ประธานาธิบดีแห่งอุรุกวัยวัย 77 ปี ได้รับการขนานนามว่า "ประธานาธิบดีที่จนที่สุดในโลก" จากการที่เขามีแนวคิดการใช้ชีวิตที่แปลก แตกต่างจากนักการเมืองคนอื่น ๆ นั่นคือ ปฏิเสธบ้านพักหรูที่ทางการจัดให้ ปฏิเสธการใช้ชีวิตหรูหรา แต่เลือกที่จะใช้ชีวิตกับภรรยาอย่างสมถะอยู่ในบ้านเก่า ๆ หลังหนึ่งในชนบทนอกเมืองมอนเตวิเดโอ อยู่อย่างพอเพียง ทำสวน สูบน้ำขึ้นมาใช้เอง โดยมีสุนัขพิการ 3 ขา เป็นคู่หู คอยติดสอยห้อยตามเขาไปด้วยเสมอ

มูจีกา ใช้ชีวิตแบบชาวไร่ ทำสวน ปลูกผักไว้กินกับภรรยา น้ำที่ใช้ในแต่ละวันก็สูบขึ้นมาจากบ่อ มีรถไถไว้ใช้ทำสวนทำไร่ และรถเต่าเก่า ๆ อีก 1 คันเอาไว้ขับไปไหนมาไหน ส่วนเงินเดือนที่ได้รับกว่า 360,000 บาทในแต่ละเดือนนั้น เขาก็เก็บไว้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 90 เปอร์เซ็นต์ ถูกนำไปบริจาคช่วยเหลือคนยากจน หรือโครงการเพื่อสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ทำให้เขามีเงินใช้เดือนละประมาณ 23,000 บาทเท่านั้น และกลายเป็นประธานาธิบดีที่ยากจนที่สุดในโลก

ถ้าพูดถึงฐานะ เขาอาจจนที่สุดเมื่ือเทียบกับผู้นำชาติอื่น ๆ แต่ถ้าพูดถึงน้ำใจและความดี เขารำรวยไม่แพ้ใครแน่นอน ... อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ ...